กิจกรรม 15-19 พฤศจิกายน 2553

ส่งงาน
ปฏิบัติกิจกรรมตามใบงานที่กำหนด ข้อ 1 - 10 ส่งท้ายชั่วโมงที่เรียน ข้อ 11 - 20 ทำเป็นการบ้านส่งสัปดาห์หน้า 




ตอบ 4

อธิบาย สายใยอาหาร ในระบบนิเวศหนึ่งๆ จะมีสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตและมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ที่สำคัญคือการเป็นอาหาร ทำให้มีการถ่ายทอดพลังงานในโมเลกุลของอาหารต่อเนื่องเป็นลำดับจากพืช ซึ่งเป็นผู้ผลิต ( Producer ) สู่ผู้บริโภค ( Herbivore ) ผู้บริโภคสัตว์ ( Carnivore ) กลุ่มผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ ( Omnivore ) และผู้ย่อยสลายอินทรียสาร( Decomposer ) ตามลำดับในห่วงโซ่อาหาร( Food Chain ) ในระบบนิเวศธรรมชาติระบบหนึ่งๆ จะมีห่วงโซ่อาหารสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อนหลายห่วงโซ่ เป็นสายใยอาหาร ( Food Web )






ตอบ 3

อธิบาย 








ตอบ 2

อธิบาย คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC) คือสารประกอบที่เกิดจาก คลอรีน (Cl) ฟลูออรีน (F) และคาร์บอน (C) ซึ่งเป็นสารพิษที่เกิดจากหลายกรณีเช่น การปล่อยควันพิษของโรงงาน โดยเรายังจะสามารถพบสารนี้ได้ในตู้เย็นของเรา หรือแม้แต่ในสเปรย์ทุกชนิด ฉะนั้น การใช้สเปรย์จึงเป็นการสร้างสาร CFC โดยสาร CFC นี้ มีความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมมาก เพราะว่าสาร CFC สามารถที่จะทำลายชั้นโอโซน ทำให้ชั้นโอโซนเกิดช่องโหว่ ทำให้รังสีอัลตร้าไวโอเลต (UV) สามารถแผ่เข้ามาสู่ผิวโลกได้อย่างเข้มข้นขึ้น ทำให้โลกมีอุณหภูมิที่ร้อนจัด และทำให้เป็นโรคมะเร็งผิวหนังในคน พื้นดินจะกลายเป็นทะเลทราย เกิดภาวะน้ำแล้ง จนในที่สุด โลกก็จะถูกทำลาย และสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิดจะสูญพันธุ์





ตอบ 4

อธิบาย ไวรัสเป็น intracellular microorganism ที่ไม่สามารถสังเคราะห์สารต่างๆที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตได้ด้วยตนเอง แต่ต้องอาศัย host cell ในการสร้าง nucleic acid และ protein ต่างๆที่จำเป็นในการสร้างไวรัสตัวใหม่ขึ้นมา การที่ไวรัสอาศัย host cells ในการดำรงชีวิตนี้เองทำให้การใช้ยาต้านไวรัสในการกำจัดไวรัส มีความจำเพาะเจาะจงต่อไวรัสได้ยาก และมักมีผลที่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อ host cells ด้วย









ตอบ 1

อธิบาย ในเซลล์พืชทั่วไปมีผนังเซลล์ นิวเคลียส และคลอโรพลาสต์ แต่บางเซลล์ เช่น ซีฟทิวน์อาจจะไม่มีนิวเคลียส









ตอบ 1

อธิบาย เนื่องจากสารละลาย hypotonic เป็นสารละลายที่มีความเข้มข้นต่ำกว่าความเข้มข้นภายในเซลล์ ดังนั้นในสารละลายจึงมีปริมาณน้ำมากกว่าน้ำภายในเซลล์ น้ำจากภายนอกเซลล์จึงจะออสโมซิสเข้ามาภายในเซลล์ทำให้เซลล์เต่ง








ตอบ 3

อธิบาย เอกโซไซโทซิส (exocytosis) เป็นการลำเลียงสารโมเลกุลขนาดใหญ่ออกจากเซลล์ สารที่จะถูกส่งออกไปนอกเซลล์บรรจุอยู่ในเวสิเคิล เมื่อเวสิเคิลรวมตัวกับเยื่อหุ้มเซลล์ สารที่อยู่ภายในเวสิเคิลก็จะถูกปล่อยออกไปนอกเซลล์ โดยวิธีนี้พบได้ในหลายโอกาส เช่น การหลั่งเอนไซม์จากเยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร การกำจัดของเสียที่ย่อยไม่ได้ออกจากเซลล์

ที่มา http://student.nu.ac.th/kaewsa/lesson2.htm







ตอบ 1

อธิบาย ารขับถ่าย หมายถึง การกำจัดของเสียซึ่งเกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึมภายในร่างกายสิ่งมีชีวิต สารบางอย่างที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเมแทบอลิซึมนี้ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ เก็บไว้ก็ไม่ได้ เพราะเป็นอันตรายต่อเซลล์ของร่างกาย จึงจำเป็นต้องกำจัดออก เช่น ยูเรีย แอมโมเนีย กรดยูริก การกำจัดของเสียเหล่านี้มักจะต้องมีการสูญเสียน้ำออกจากร่างกายด้วย






ตอบ 4







อธิบาย สัตว์ที่อาศัยในทะเล เช่น ปลาทะเล มีความเข้มข้นของเกลือแร่ในเลือดต่ำกว่าท้องทะเล คือ มีแรงดันออสโมติกในร่างกายต่ำกว่าน้ำทะเล จึงมีการควบคุมระดับน้ำในร่างกายตรงกันข้ามกับปลาน้ำจืด เกลือแร่จึงแพร่ผ่านเข้าออกร่างกายตลอดเวลา จึงทำให้ปลาสูญเสียน้ำออกจากร่างกาย ดังนั้นปลาในทะเล จึงมีการปรับตัวและกลไกต่างๆ เพื่อแก้ปัญหานี้ โดยมีผิวหนังและเกล็ดเป็นตัวป้องกันไม่ให้เกลือแร่เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย

ที่มา http://www.school.net.th/library/create-web/10000/science/10000-7954.html



ตอบ 3

อธิบาย  คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล (contractile vacuole) ทำหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำ พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น อะมีบา พารามีเซียม เป็นต้น



ตอบ 1

อธิบาย เนื่องจากการออกกำลังกายทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นสมองส่วนไฮโพโทลามัสถูกกระตุ้นทำให้ลดเมทาบอลิซึมที่เป็นการเผาผลาญอาหารเพื่อทำให้เกิดความร้อนและหลอดเลือดขยายตัวเพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย

ที่มา http://wittawus.igetweb.com/?mo=3&art=449009  







ตอบ 3

อธิบาย นมแม่เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานที่แข็ง แรงให้กับลูก เพราะนมแม่มีส่วนประกอบของโมเลกุลและสารอาหารสำคัญหลายๆ อย่าง เช่น แอนติบอดี้ พรีไบโอติก ที่ทำหน้าที่ปกป้องลูกจากเชื้อโรค ช่วยเสริมสร้างจุลินทรีย์สุขภาพดีในกระเพาะอาหาร ดังนั้น หากเป็นไปได้คุณแม่ควรให้ลูกดื่มนมแม่ตั้งแต่หลังคลอด เพื่อความแข็งแรงของระบบภูมิต้านทาน และลดอัตราการติดเชื้อหรืออาการเจ็บป่วยในวัยเด็กของลูก พร้อมทั้งยังเป็นการเสริมสร้างการทำงานของภูมิต้านทานของลูก

ที่มา http://www.dumex.co.th/immunity/childs-immunity-7.htm







ตอบ 2

อธิบาย วัคซีนประกอบด้วยสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันซึ่งเรียกว่า “แอนติเจน (antigen)” และสารประกอบอื่นๆ ได้แก่ สารเสริมฤทธิ์ (adjuvant) สารกันเสีย (preservative) และของเหลวสำหรับแขวนตะกอน (suspending fluid) สารเสริมฤทธิ์เป็นตัวช่วยให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น เช่น เกลืออะลูมิเนียม ส่วนของเหลวแขวนตะกอนอาจเป็นน้ำ น้ำเกลือ เป็นต้น

ที่มา http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%99



  




ตอบ 3

อธิบาย การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (meiosis) เป็นการแบ่งของเซลล์เพศ (sex cell) ในสัตว์สามารถพบการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสในอัณฑะและรังไข่ ส่วนในพืชพบได้ในอับเรณูหรือรังไข่เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสมี 2 ขั้นตอนคือ
 

1. ไมโอซิส 1 เป็นระยะที่มีการลดจำนวนโครโมโซมจากเดิมลงครึ่งหนึ่ง คือ จากเซลล์เริ่มต้นที่มีจำนวนโครโมโซมเป็นดิพลอยด์ (2n) จะได้เซลล์ที่มีโครโมโซมเป็นแฮพลอยด์ 2 เซลล์ ไมโอซิส 1 แบ่งออกเป็นระยะต่างๆ 4 ระยะ
1) โพรเฟส 1 (prophase - I) เป็นระยะที่มีความซับซ้อนมากที่สุด
2) เมทาเฟส 1 (metaphase - I) เยื่อหุ้มนิวเคลียสจะสลายไป
3) แอนาเฟส 1 (anaphase - I) ระยะนี้เซนโทรเมียร์จะยังไม่แบ่งตัวจาก 1 เป็น 2
4) เทโลเฟส 1 (telophase - I) โครโมโซมที่ขั้วเซลล์มีจำนวนโครโมโซมลดลงครึ่งหนึ่ง
 

2. ไมโอซิส 2 เป็นระยะที่คล้ายคลึงกับการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส มีการแยกตัวของโครมาทิดเกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดระยะนี้ จะได้ 4 เซลล์ มีโครโมโซมเป็นแฮพลอยด์ และ 4 เซลล์นี้จะมีจำนวนโครโมโซมและพันธุกรรมแตกต่างจากเซลล์เริ่มต้น จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นเซลล์สืบพันธุ์ ไมโอซิส 2 จะมีการจำลองโครโมโซมขึ้นอีกในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง ประกอบด้วย
1) โพรเฟส 2 (prophase - II) โครโมโซมของแต่ละเซลล์จะเริ่มปรากฏขึ้นมาใหม่
2) เมทาเฟส 2 (metaphase - II) เยื่อหุ้มนิวเคลียสหายไป แต่ละโครโมโซมที่ประกอบด้วย 2 โครมาทิด จะเคลื่อนตัวมาเรียงบริเวณตรงกลางเซลล์
3) แอนาเฟส 2 (anaphase - II) เซนโทรเมียร์ของแต่ละโครโมโซมจะแบ่งตัวจาก 1 เป็น 2 และโครมาทิดจะแยกออก
4) เทโลเฟส 2 (telophase - II) จะเกิดเยื่อหุ้มนิวเคลียสขึ้นมาล้อมรอบโครโมโซมที่ขั้ว เมื่อเกิดการแบ่งไซโทพลาซึมอีกจะได้เซลล์ลูก 4 เซลล์



ที่มา http://www.maceducation.com/e-knowledge/2432210100/01.htm




 




ตอบ 2

อธิบาย สารพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตมีลักษณะเป็นกรดนิวคลีอิกที่มีขนาดใหญ่ สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ ดีเอ็นเอ และอาร์เอ็นเอ

ที่มา http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2931



 



ตอบ 3

อธิบาย ในเพดดิกรีสี่เหลี่ยมหมายถึงผู้ชาย และวงกลมแทนเพศหญิง ส่วนสีดำทึบหมายถึงคนเป็นโรค  และสีขาวหมายถึงคนปกติ











ตอบ  3

อธิบาย โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย (อังกฤษ: thalassaemia) เป็นโรคเลือดจางที่มีสาเหตุมาจากมีความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้มีการสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดผิดปกติ จึงทำให้เม็ดเลือดแดงมี อายุสั้นกว่าปกติ แตกง่าย ถูกทำลายง่าย ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จึงมีเลือดจาง โรคนี้พบได้ทั้งหญิงและชายปริมาณเท่าๆ กัน ถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่ทางพันธุกรรมพบได้ทั่วโลก และพบมากในประเทศไทยด้วยเช่นกัน



ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2







ตอบ 3

อธิบาย ตาบอดสี ความผิดปกติของเม็ดสีและเซลล์รับแสงสีเขียวหรือแดง ถูกควบคุมด้วยยีนบนโครโมโซม x และมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ x-linked recessive จากแม่ไปสู่บุตรชาย เพราะเหตุนี้ตาบอดสีส่วนใหญ่มักจะเกิดกับเด็กผู้ชาย ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากมารดา ในเพศหญิงพบน้อยกว่าเพศชายประมาณ 16 เท่า หรือคืดเป็นประมาณร้อยละ 0.4 ของประชากร ขณะที่ตาบอดสีทั้งหมด จะพบได้ประมาณร้อยละ 10 ของประชากร และเป็นการมองเห็นสีเขียวบกพร่องเสียประมาณร้อยละ 5 ของประชากร


ที่มา http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B5







ตอบ 1

อธิบาย การถ่ายทอดทาง พันธุกรรมบางลักษณะเกี่ยวพันกับเพศด้วยทั้งนี้เพราะโครโมโซมที่กำหนดเพศหญิง แตกต่างจากที่กำหนดเพศชาย โครโมโซมเพศหญิงเป็นโครโมโซมคู่ XX โครโมโซมเพศชายเป็น XY โครโมโซม X และ Y นอกจากจะมีจีนกำหนดเพศแล้ว ยังมีจีนที่ควบคุมลักษณะอื่น ๆ อีก เช่น บนโครโมโซม X ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าโครโมโซม Y มีจีนควบคุมลักษณะตาบอดสี การแข็งตัวของเลือด ฯลฯ ดังนั้น ถึงแม้ว่าลักษณะตาบอดสีจะเป็นลักษณะด้อย แต่มีจีนคู่นี้บนโครโมโซม X ของผู้หญิงได้ยากนอกจากจะแสดงได้ต่อเมื่อจีนนั้นผิดปกติทั้งคู่ ขณะที่จีน XY ของผู้ชายจีนที่ไม่มีคู่โอกาสที่จีนด้อยโอกาสจะแสดงลักษณะเด่นจึงเป็นไปได้ เต็มที่ต่างกับจีนของฝ่ายหญิง

ที่มา http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/mendel/sc31-2-3.htm







ตอบ 3

อธิบาย  
คนหมู่เลือด A +A  = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,O
คนหมู่เลือด B+B   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B,O
คนหมู่เลือด AB+AB = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B (ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด O+O   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด O เท่านั้น
คนหมู่เลือด A+B   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด เป็นได้ทุกกรุ๊ป
คนหมู่เลือด A+AB  = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด B+AB  = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด AB+O = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด ได้ A หรือ B 
คนหมู่เลือด A+O   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ O
คนหมู่เลือด B+O   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B หรือ O
คนหมู่เลือด A+B   = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A.,B,AB,O


2 ความคิดเห็น:

  1. หลักเกณฑ์การให้คะแนน ข้อละ 10 คะแนนแยกรายละเอียด ดังนี้
    1. ทำครบตามที่กำหนด ข้อละ 2 คะแนน ถ้ามีแต่โจทย์ไม่วิเคราะห์ให้ข้อละ 1 คะแนน
    2. มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน
    3. บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน( URL)
    4. วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้คะแนนตั้งแต่ 1 - 5 คะแนนตามความเหมาะสม
    5. ลงคะแนนรวมที่ได้ลงในช่องแสดงความคิดเห็นใต้เพจกิจกรรมแต่ละสัปดาห์


    คะแนนเต็ม 200 คะแนน
    น้ำทิพย์ให้คะแนนธัญชนิต 180 คะแนน

    ตอบลบ
  2. หลักเกณฑ์การให้คะแนน ข้อละ 10 คะแนนแยกรายละเอียด ดังนี้

    1.ทำครบตามที่กำหนดข้อละ 2 คะแนน เต็ม 40 ได้ 40 คะแนน
    2.มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน เต็ม 20 ได้ 20 คะแนน
    3.บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน เต็ม 40 ได้ 40 คะแนน
    4.วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็น เต็ม 100 ได้ 90 คะแนน


    รวมคะแนนเต็ม 200 คะแนน
    ให้คะแนนตัวเอง 190 คะแนน

    ตอบลบ