กิจกรรม 17-21 มกราคม 2554



ตอบ 2

อธิบาย หินงอกคือหินที่งอกจากพื้น หินย้อย คือหินที่ย้อยลงมาจากด้านบน เกิดมากโดยเฉพาะภูเขาหินปูน ฝนที่ตกลงมามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 ) ซึ่งละลายในน้ำฝน... กลายเป็นกรดคาร์บอนิก (H2CO3) ไหลไปตามก้อนหิน.... และทำปฏิกิริยากับแคลเซียมตาร์บอเนต ที่มีอยู่ในหินปูน เกิดเป็นสารละลายแคลเซียมไฮโดรเจน คาร์บอเนต ซี่งไหลไปตามพื้นถนังถ้ำ เมื่อน้ำระเหยหมดก็เหลือตะกอน สะสมเป็นหินงอกหินย้อย

สารสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงไปได้ทางกายภาพ และทางเคมี ในการเปลี่ยนแปลง ทางกายภาพของสาร สมบัติทางเคมีของสารนั้นๆจะคงเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เช่น การละลายของน้ำแข็ง และการฉีกกระดาษ หรือผ้าเป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงทาง กายภาพในแต่ละตัวอย่าง สารแต่ละชนิดยังคงเป็นสารเดิม ผ้าก็ยังคงเป็นผ้า แม้รูปร่าง ของผ้าหรือน้ำแข็งจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่องค์ประกอบทางเคมีไม่ได้เปลี่ยนแปลง ไปด้วย ในการเปลี่ยนแปลงทางเคมี องค์ประกอบทางเคมีของสารได้เปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น การเผาไม้ขีดไฟ การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช การเกิดสนิมของเหล็กล้วนแล้วแต่เป็นการ เปลี่ยนแปลงทางเคมีทั้งสิ้น เพราะในแต่ละกรณีองค์ประกอบทางเคมีได้เปลี่ยนไป ในการเปลี่ยน แปลงทางเคมี พันธะต่างๆ ที่ยึดโมเลกุลของสารถูกทำลาย และอะตอมของสารได้รวมกันใหม่ เป็นโมเลกุลที่แตกต่างออกไป





ตอบ 4

อธิบาย ความเข้มข้นของสารละลายเป็นการบอกถึงอัตราส่วนปริมาณตัวถูกละลายกับ
ปริมาณตัวทำละลายในสารละลายหนึ่ง ๆ  อัตราส่วนดังกล่าวจะมีได้
2 ลักษณะ คือ
                      - ปริมาณของตัวถูกละลายในสารละลายทั้งหมด 
                      - ปริมาณของตัวถูกละลายในตัวทำละลายทั้งหมด



ตอบ 4

อธิบาย กรดกำมะถัน หรือ กรดซัลฟิวริก  H2SO 4, เป็น กรดแร่ (mineral acid) อย่างแรง ละลายได้ในน้ำที่ทุกความเข้มข้น ค้นพบโดย จาเบียร์ เฮย์ยัน (Jabir Ibn Hayyan) นักเคมีชาวอาหรับ พบว่ากรดซัลฟิวริกมีประโยชน์มากมายและเป็นสารเคมีที่มีการผลิตมากที่สุด รองจากน้ำ ในปี ค.ศ. 2001 ทั่วโลกผลิตรวมกันประมาณ 165 ล้านตัน ซึ่งมูลค่าประมาณ 320,000 ล้านบาท (8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ประโยชน์ของกรดกำมะถันได้แก่ ใช้ในการผลิตปุ๋ย กระบวนการผลิตแร่ การสังเคราะห์เคมี การกำจัดน้ำเสีย ใช้เป็นสารละลายอิเล็กทรอไลต์ในแบตเตอรี่และกระบวนการกลั่นน้ำมัน กรดกำมะถันมีชื่อเดิมคือ "Zayt al-Zaj" หรือ "ออยล์ออฟวิตริออล" (oil of vitriol)

กรดไนตริก หรือ กรดดินประสิว เป็นกรดที่มีอันตราย หากสัมผัสจะทำให้เกิดแผลไหม้ขั้นรุนแรง กรดไนตริกนี้ ค้นพบโดยการสังเคราะห์ โดย "Muslim alchemist Jabir ibn Hayyan" ประมาณ ค.ศ. 800 กรดไนตริกบริสุทธ์ 100% (ปราศจากน้ำ) จะเป็นของเหลวที่มีความหนาแน่น 1,552 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร และจะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิ -42 °C ลูกบาศก์ โดยจะเป็นผลึกสีขาว และจะเดือดที่อุณหภูมิ 83 °C แต่ก็สามารถเดือดในที่ ที่มีแสงสว่าง ทั้ง ๆ ที่อยู่ในอุณหภูมิห้อง
สารประกอบเคมีในกรดไนตริก (HNO3) , หรือ อควา ฟอร์ติส (aqua fortis) หรือ สปิริต ออฟ ไนเตอร์ (spirit of nitre) เป็นของเหลวที่กัดกร่อนและไม่มีสี เป็นกรดที่มีพิษที่สามารถทำให้เกิดแผลไฟไหม้อย่างรุนแรง สารละลายที่มีกรดไนตริกมากกว่า 86% เรียกว่า fuming nitric acidและสามารถกัดกร่อนโลหะมีตะกูลได้ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ขาว (white fuming nitric acid) และแดง (red fuming nitric acid)





ตอบ 1

อธิบาย ไอโซโทป คืออะตอมต่าง ๆ ของธาตุชนิดเดียวกัน ที่มีจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน ส่งผลให้เลขมวลต่างกันด้วย และเรียกเป็นไอโซโทปของธาตุนั้น ๆ. ไอโซโทปของธาตุต่าง ๆ จะมีสมบัติทางเคมีฟิสิกส์เหมือนกัน ยกเว้นสมบัติทางนิวเคลียร์ที่เกี่ยวกับมวลอะตอม เช่น ยูเรเนียม มี 2 ไอโซโทป คือ ยูเรเนียม-235 เป็นไอโซโทปที่แผ่รังสี และยูเรเนียม-238 เป็นไอโซโทปที่ไม่แผ่รังสี




ตอบ 2

อธิบาย

การจัดเรียงอิเล็กตรอน
1.อิเล็กตรอนที่วิ่งอยู่รอบๆนิวเคลียสนั้น จะอยู่กันเป็นชั้นๆตามระดับพลังงาน ระดับพลังงานที่อยู่ใกล้นิวเคลียสที่สุด (ชั้น K)จะมีพลังงานต่ำที่สุด และอิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นถัดออกมาจะมีพลังงานสูงขี้นๆตามลำดับพลังงานของอิเล็กตรอนของระดับชั้นพลังงาน K < L < M < N < O < P < Q
หรือชั้นที่ 1< 2 < 3 <4 < 5 < 6 < 7


2. ในแต่ละชั้นของระดับพลังงาน จะมีจำนวนอิเล็กตรอนได้ ไม่เกิน 2n2 เมื่อ n = เลขชั้น
    เลขชั้นของชั้น K=1,L=2,M=3,N=4,O=5,P=6 และ Q=7

3. ในแต่ละระดับชั้นพลังงาน จะมีระดับพลังงานชั้นย่อยได้ ไม่เกิน 4 ชั้นย่อย และมีชื่อเรียกชั้นย่อย ดังนี้ s , p , d , f
ในแต่ละชั้นย่อย จะมีจำนวน e-ได้ ไม่เกิน ดังนี้
ระดับพลังงานชั้นย่อย s มี e- ได้ ไม่เกิน 2 ตัว ระดับพลังงานชั้นย่อย p มี e- ได้ ไม่เกิน 6 ตัวระดับพลังงานชั้นย่อย d มี e-ได้ ไม่เกิน 10 ตัว ระดับพลังงานชั้นย่อย f มี e-ได้ ไม่เกิน 14 ตัว
เขียนเป็น s2 p6 d10 f14




ตอบ 3

อธิบาย จำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานที่ 1 มีได้มากที่สุด 2  อิเล็กตรอน      ระดับพลังงานที่ มีได้มากที่สุด 2  อิเล็กตรอน    สำหรับระดับพลังงานที่ 3  นั้น จากการสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมทำให้ทราบว่ามีได้มากที่สุด 18 อิเล็กตรอน  นั่นคือ แต่ละระดับพลังงานมีอิเล็กตรอนสูงสุด = 2n2 กำหนดให้  n = ระดับพลังงานของอิเล็กตรอน



 
ตอบ 3

อธิบาย อะตอมของธาตุส่วนใหญ่ในตารางธาตุไม่สามารถอยู่อย่างอิสระอะตอมเดียวได้ มีเพียงไม่กี่ธาตุที่อะตอมสามารถอยู่ได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องรวมตัวกัน
คุณรู้ไม้ว่าธาตุเหล่านั้นมีอะไรบ้าง ? และเพราะอะไร
อะตอมของธาตุส่วนใหญ่จะอยู่รวมตัวกัน ซึ่งอาจจะรวมตัวกับอะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน หรือกับธาตุต่างชนิด เกิดเป็นโมเลกุล เช่น O2, CH4, C6H12O6 (glucose) เป็นต้น
แรงดึงดูดระหว่างอะตอมที่ทำให้อะตอมอยู่ด้วยกันในรูปของโมเลกุล เรียกว่า พันธะเคมี

ที่มา http://student.nu.ac.th/worawit/lesson4.htm



ตอบ 2

อธิบาย ธาตุหมู่ 2A  หรือโลหะอัลคาไลน์เอิร์ธ  (Alkaline-earth Metals)          ธาตุหมู่ 2A  หรือโลหะอัลคาไลน์เอิร์ธ  มีลักษณะเป็นโลหะเนื้ออ่อน  แต่มีความแข็งและมีความหนาแน่นมากกว่าธาตุหมู่ 1A  ส่วนใหญ่มีสีเงิน  ทำปฏิกิริยาได้ดีกับกับธาตุหมู่ 7A  และน้ำ  แต่ปฏิกิริยามีความรุนแรงน้อยกว่าธาตุหมู่ 1A  ธาตุหมู่ 2A  จะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนอยู่ชั้นนอกสุดเพียง 2 อนุภาค  จึงถูกดึงหรือสูญเสียอิเล็กตรอนไปได้ง่าย  ดังนั้นธาตุหมู่ 2A  จึงมีสมบัติความเป็นโลหะที่ดี  ตัวอย่างของธาตุหมู่
 2A  ที่ควรรู้จัก  ได้แก่
          -  เบริลเลียม (Be)  เป็นโลหะซึ่งมีสีเทาเหมือนเหล็ก  แข็งแรง  น้ำหนักเบา  แต่เปราะ  มักใช้สำหรับเป็นโลหะผสมเพื่อทำให้โลหะแข็งแกร่งขึ้น
          -  แมกนีเซียม (Mg)  เป็นธาตุที่พบได้มากในธรรมชาติ  โดยพบว่าเป็นส่วนประกอบของเปลือกโลกประมาณ 2%  และเป็นธาตุที่ละลายอยู่ในน้ำทะเลมากเป็นอันดับ 3  นิยมใช้วัตถุดิบในการผลิตโลหะผสมอะลูมิเนียม-แมกนีเซียม
          -  แคลเซียม (Ca)  เป็นโลหะสีเทาอ่อน  มักใช้ในการสกัดธาตุยูเรเนียม (U)  เป็นธาตุที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตอย่างยิ่ง  เนื่องจากเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของโครงสร้างร่างกายของสิ่งมีชีวิต  เช่น  กระดูก  และฟัน  เป็นต้น
          -  แบเรียม (Ba)  เป็นธาตุที่มีอยู่น้อยในธรรมชาติ  มีสมบัติคล้ายกับธาตุแคลเซียม  สามารถทำปฏิกิริยากับอากาศได้ดี  ทำให้สามารถพบได้เฉพาะในลักษณะสารประกอบเท่ากัน  มีการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการขุดเจาะน้ำมัน  การทำเหมือนแร่  การถ่ายภาพเอ็กซเรย์ทางการแพทย์  เป็นต้น

ที่มา http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=3017



ตอบ 3

อธิบาย ครึ่งชีวิตของธาตุ (half life) หมายถึง ระยะเวลาที่สารสลายตัวไปจนเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณเดิมใช้สัญลักษณ์เป็น t1/2 นิยมใช้กับสารกัมมันตภาพรังสี ตัวอย่างเช่น C-14 มีครึ่งชีวิต 5730 ปี หมายความว่า ถ้ามี C-14 1 กรัม เมื่อเวลาผ่านไป 5730 ปี จะเหลือ C-14 อยู่ 0.5 กรัม และเมื่อเวลาผ่านไปอีก 5730 ปี จะเหลืออยู่ 0.25 กรัม เป็นดังนี้ไปเรื่อยๆ กล่าวได้ว่าทุกๆ 5730 ปี จะเหลือC-14 เพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณเดิม





2 ความคิดเห็น:

  1. หลักเกณฑ์การให้คะแนน ข้อละ 10 คะแนนแยกรายละเอียด ดังนี้
    1. ทำครบตามที่กำหนด ข้อละ 2 คะแนน ถ้ามีแต่โจทย์ไม่วิเคราะห์ให้ข้อละ 1 คะแนน
    2. มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน
    3. บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน( URL)
    4. วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้คะแนนตั้งแต่ 1 - 5 คะแนนตามความเหมาะสม
    5. ลงคะแนนรวมที่ได้ลงในช่องแสดงความคิดเห็นใต้เพจกิจกรรมแต่ละสัปดาห์


    คะแนนเต็ม 90 คะแนน
    น้ำทิพย์ให้คะแนนธัญชนิต 90 คะแนน
    เพราะว่า ครบทุกอย่าง ดีมากจ้ะ

    :))

    ตอบลบ
  2. หลักเกณฑ์การให้คะแนน ข้อละ 10 คะแนนแยกรายละเอียด ดังนี้

    1.ทำครบตามที่กำหนดข้อละ 2 คะแนน
    2.มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน
    3.บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน
    4.วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็น


    รวมคะแนนเต็ม 90 คะแนน
    ให้คะแนนตัวเอง 85 คะแนน

    ตอบลบ