กิจกรรม 24-28 มกราคม 2554

 

ตอบ 3

อธิบาย พลาสติกที่ใช้แล้วมักถูกทิ้งเป็นขยะพลาสติก  ซึ่งส่วนหนึ่งถูกนำกลับมาใช้อีก ในลักษณะต่างๆ  กัน  และอีกส่วนหนึ่งถูกนำไปกำจัดทิ้งโดยวิธีการต่างๆ  การนำขยะพลาสติกไปกำจัดทิ้งโดยการฝังกลบเป็นวิธีที่สะดวกแต่มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพราะโดยธรรมชาติพลาสติกจะถูกย่อยสลาย เพราะโดยธรรมชาติพลาสติกจะถูกย่อยสลายได้ยาก จึงทับถมอยู่ในดิน  และนับวันยิ่งมีปริมาณมากขึ้นตามปริมาณการใช้พลาสติกส่วนการเผาขยะพลาสติกก็ก่อให้เกิดมลพิษและเป็นอันตรายอย่างมาก วิธีการแก้ปัญหาขยะพลาสติกที่ได้ผลดีที่สุดคือ การนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ การนำขยะพลาสติกใช้แล้วกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ 

ที่มา http://guru.sanook.com/enc_preview.php?id=3087&source_location=2



ตอบ 1

อธิบาย ปฏิกิริยาคายความร้อน (Exothermic  reaction) เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแล้วระบบจะคายพลังงานให้กับสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่างการเกิดปฏิกิริยาเคมีแบบคายความร้อน  โดยการทดลองหยดกลีเซอรีนลงบนเกล็ดโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต (ด่างทับทิม) ไว้สักครู่  จะทำให้เกิดปฏิกิริยาคายความร้อนมีเปลวไฟลุกไหม้ขึ้น


ตัวอย่างปฏิกิริยาคายความร้อนในชีวิตประจำวัน  เช่น  การเผาไหม้ของสารต่างๆ  การย่อยอาหารหรือสันดาปอาหารในร่างกาย  การระเบิด  การจุดพลุ  เป็นต้น

ที่มา http://krusutida.com/atom/new/008/content_8_1.htm



ตอบ 4

อธิบาย  ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นอยู่รอบ ๆ ตัวเรานั้น บางปฏิกิริยาก็เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่บางปฏิกิริยาก็เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ แม้แต่ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดจากสารตั้งต้นชนิดเดียวกัน บางครั้งก็ยังเกิดขึ้นได้ด้วยอัตราเร็วที่แตกต่างกัน โดยอัตราเร็วของปฏิกิริยาจะขึ้นอยู่กับชนิดของสารตั้งต้นและปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ดังนี้
     1.  ชนิดของสารตั้งต้น สารตั้งต้นแต่ละชนิดจะมีความสามารถเกิดปฏิกิริยาเคมีที่แตกต่างกัน โดยสารตั้งต้นชนิดหนึ่งอาจจะสามารถเกิดปฏิกิริยาได้เร็วกับสารชนิดหนึ่ง แต่อาจเกิดปฏิกิริยาได้ช้ากับสารอีกชนิดหนึ่งก็ได้ ตัวอย่างเช่น โลหะแมกนีเซียมจะสามารถทำปฏิกิริยาได้ดีกับสารละลายกรดเกิดเป็นแก๊สไฮโดรเจน แต่แมกนีเซียมจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนได้ช้ามาก หรือการที่โลหะ โซเดียมที่สามารถทำปฏิกิริยากับน้ำได้อย่างรวดเร็วมาก ขณะที่โลหะแมกนีเซียมจะทำปฏิกิริยากับน้ำได้ช้า เป็นต้น
     2.  ความเข้มข้นของสารตั้งต้น ปฏิกิริยาโดยส่วนมากจะเกิดได้เร็วมากขึ้น ถ้าหากเราใช้สารตั้งต้นมีความเข้มข้นมากขึ้น เนื่องจากการเพิ่มความเข้มข้นของสารจะทำใหมีอนุภาคของสารอยู่รวมกันอย่างหนาแน่นมากขึ้น อนุภาคของสารจึงมีโอกาสชนกันแล้วเกิดปฏิกิริยาได้มากขึ้น
    3อุณหภูมิ หรือ พลังงานความร้อนจะมีผลต่อพลังงานภายในสาร  โดยการเพิ่มอุณหภูมิจะเป็นการเพิ่มพลังงานจลน์ให้แก่อนุภาคของสารทำให้อนุภาคของสารเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น จึงช่วยเพิ่มโอกาสในการชนกันของอนุภาคมากขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มพลังงานให้แก่สารจะช่วยทำให้สารมีพลังงานภายในมากกว่าค่าพลังงานก่อกัมมันต์จึงทำให้เกิดปฏิกิริยาเร็วขึ้นได้ เช่น การเก็บอาหารในตู้เย็นเพื่อป้องการการเน่าเสีย เป็นต้น
     4.  ตัวเร่งปฏิกิริยา เป็นสารที่เติมลงไปในปฏิกิริยาโดยสารเหล่านี้จะไม่มีผลต่อการเกิดผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยาทำให้ปฏิกิริยาแต่จะมีผลไปลดค่าพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาแต่จะมีผลไปลดค่าพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาทำให้ปฏิกิริยานั้นเกิดได้ง่ายมากขึ้น และหลังจากการเกิดปฏิกิริยาแล้ว ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใส่ลงไปจะยังคงมีสมบัติและปริมาณเหมือนเดิม โดยตัวเร่งปฏิกิริยาที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ เอนไซม์ต่าง ๆ ในร่างกายของเราซึ่งมีลักษณะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาช่วยให้เกิดการย่อยอาหารได้เร็วมากขึ้น เป็นต้น
     5.  ตัวหน่วงปฏิกิริยา เป็นสารที่เติมลงไปในปฏิกิริยาโดยที่สารเหล่านี้จะไม่มีผลต่อการเกิดผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยา แต่จะมีผลไปเพิ่มค่าพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยา จึงทำให้สารเกิดปฏิกิริยาได้ยากขึ้นหรือมีผลยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาแล้ว ตัวหน่วงปฏิกิริยาทางเคมีและมีมวลเท่าเดิม แต่อาจมีสมบัติทางภาพบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป เช่น มีขนาด หรือรูปร่างเปลี่ยนไป โดยตัวหน่วงปฏิกิริยาที่พบได้ชีวิตประจำวัน ได้แก่ สารกันบูดในอาหาร ที่ช่วยยับยั้งปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดการเน่าเสียของอาหาร เป็นต้น
     6.  พื้นที่ผิวของสารตั้งต้น ในกรณีที่สารตั้งต้นเป็นของแข็ง การเพิ่มพื้นที่ผิวของสารจะช่วยให้เกิดปฏิกิริยาเคมีเร็วขึ้นได้ เนื่องจากพื้นที่ผิวที่เพิ่มขึ้นจะทำให้สารมีพื้นที่สำหรับการเข้าทำปฏิกิริยากันได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น การเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน จะช่วยทำให้อาหารมีขนาดเล็กลง และมีพื้นที่ผิวเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้น้ำย่อยในระบบทางเดินอาหารสามารถเข้าย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น เป็นต้น
     7.  ความดัน จะมีผลทำให้สารที่เป็นแก๊สสามารถทำปฏิกิริยากันได้ดีขึ้น เนื่องจากการเพิ่มความดันจะช่วยทำให้โมเลกุลของแก๊สเข้าอยู่มาอยู่ใกล้ชิดกันมากขึ้น มีจำนวนโมเลกุลของแก๊สต่อหน่วยพื้นที่เพิ่มขึ้น จึงมีโอกาสชนกันและเกิดปฏิกิริยาเคมีมากขึ้น ซึ่งลักษณะเช่นนี้ก็คล้ายกับกรณีที่สารที่มีความเข้มข้นมากจะสามารถเกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้นนั่นเอง



ตอบ 2

อธิบาย
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี (rate of chemical reaction) หมายถึง ปริมาณของสารใหม่ที่เกิดขึ้นในหนึ่งหน่วยเวลาหรือปริมาณของสารตั้งต้นที่ลดลงในหนึ่งหน่วยเวลา
ชนิดของอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
  • อัตราการเกิดปฏิกิริยาเฉลี่ย (average rate) หมายถึง ปริมาณของสารใหม่ที่เกิดขึ้นทั้งหมดในหนึ่งหน่วยเวลา
  • อัตราการเกิดในปฏิกิริยาขณะใดขณะหนึ่ง (instantaneous rate) หมายถึง ปริมาณของสารที่เกิดขึ้นขณะใดขณะหนึ่งในหนึ่งหน่วยเวลาของช่วงนั้น ซึ่งมักจะหาได้จากค่าความชันของกราฟ
ที่มา http://pirun.ku.ac.th/~g4886063/content1.htm



ตอบ 4

อธิบาย ไอโซโทป คืออะตอมต่าง ๆ ของธาตุชนิดเดียวกัน ที่มีจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน ส่งผลให้เลขมวลต่างกันด้วย และเรียกเป็นไอโซโทปของธาตุนั้น ๆ. ไอโซโทปของธาตุต่าง ๆ จะมีสมบัติทางเคมีฟิสิกส์เหมือนกัน ยกเว้นสมบัติทางนิวเคลียร์ที่เกี่ยวกับมวลอะตอม เช่น ยูเรเนียม มี 2 ไอโซโทป คือ ยูเรเนียม-235 เป็นไอโซโทปที่แผ่รังสี และยูเรเนียม-238 เป็นไอโซโทปที่ไม่แผ่รังสี 




ตอบ 1

อธิบาย การเกิดปฏิกิริยาเคมีของสาร
     ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นอยู่รอบตัวของเรานั้นมีอยู่มากมายหลายประเภท และในปฏิกิริยาเคมีแต่ละประเภทก็จะมีอัตราเร็วในการเกิดปฏิกิริยาที่แตกต่างกัน  โดยบางปฏิกิริยาอาจจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วสามารถเห็นผลการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน แต่ในบางปฏิกิริยาก็อาจจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ต้องใช้ระยะเวลานานจึงจะสังเกตเห็นผลของปฏิกิริยา ซึ่งการเกิดปฏิกิริยาเคมีของสารจะเร็วหรือช้านั้น เราสามารถอธิบายได้โดยอาศัย ทฤษฎีการชนกัน (Collision Theory)
     ทฤษฎีการชนกัน กล่าวว่าปฏิกิริยาเคมีของสารจะเกิดขึ้นได้เมื่ออนุภาคของสารตั้งต้นเข้ามาชนกัน แต่การชนกันของอนุภาคของสารตั้งต้นแต่ละครั้งก็ไม่ได้ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีขึ้นเสมอไป ซึ่งการชนกันของอนุภาคของสารตั้งต้นแล้วจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมีหรือไม่ จะต้องขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ข้อ คือ ค่าพลังงานก่อกัมมันต์ และทิศทางการชนกันของอนุภาคของสารตั้งต้น ดังนี้

     1.  ค่าพลังงานก่อกัมมันต์ (Activation Energy ; E)
          ค่าพลังงานก่อกัมมันต์ คือ พลังงานจำนวนน้อยที่สุดที่จะทำให้สารตั้งต้นสามารถเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ โดยพลังงานก่อกัมมันต์จะมีผลต่อความยากง่ายในการเกิดปฏิกิริยาเคมี คือ หากเป็นปฏิกิริยานั้นก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้จนกว่าสารจะได้รับพลังงานเข้ามาเพิ่มเติมจนมีพลังงานสูงกว่าค่าพลังงานก่อกัมมันต์ ส่วนปฏิกิริยาเคมีที่มีค่าพลังงานก่อกัมมันต์ต่ำ ปฏิกิริยาเคมีนั้นก็จะสามารถเกิดปฏิกิริยาได้ง่าย โดยไม่ต้องอาศัยพลังงานจากแหล่งอื่นมาเพิ่มเติม
          ความสัมพันธ์ระหว่างค่าพลังงานก่อกัมมันต์กับการเกิดปฏิกิริยาเคมีจะมีลักษณะเหมือนการกลิ้งก้อนหินไปบนพื้น ซึ่งถ้าหากปฏิกิริยามีค่าพลังงานก่อกัมมันต์ต่ำก็เป็นเหมือนพื้นเรียบที่ไม่มีสิ่งกีดขวางใด ๆ เราสามารถกลิ้งก้อนหินให้ผ่านไปได้ง่าย  แต่ในกรณีที่ปฏิกิริยามีค่าพลังงานก่อกัมมันต์สูงก็เป็นเหมือนพื้นที่ไม่เรียบ  มีเนิน  หรือสิ่งกีดขวางอยู่ จึงต้องช่วยเข็นหรือกลิ้งก้อนหินให้พ้นจากสิ่งกีดขวางไปได้
     2.  ทิศทางการชนกันของอนุภาค
          การชนกันของอนุภาคของสารตั้งต้นสามารถทำให้เกิดปฏิกิริยาเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ขึ้นได้ เนื่องากในการเกิดปฏิกิริยาเคมีอนุภาคของสารตั้งต้นจะมีการชนกระแทกกัน ซึ่งถ้าหากอนุภาคของสารมีพลังงานที่มากพอ (มากกว่าค่าพลังงานก่อกัมมันต์) และมีการชนกันในทิศทางที่เหมาะแล้ว การชนกันนั้นก็จะสามารถทำลายแรงยึดเหนี่ยวที่อยู่ระหว่างอนุภาคของสารเดิมได้ หลังจากนั้นอนุภาคก็จะมีการสร้างพันธะกับอนุภาคอื่น ๆ เพื่อเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่
          ทิศทางการชนกันของอนุภาคที่เหมาะสม คือ ทิศทางการชนที่ทำให้อนุภาคอื่น ๆ เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ได้ง่าย ซึ่งทิศทางการชนที่เหมาะสมนี้จะมีความแตกต่างกันไปในสารแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับลักษณะรูปร่างโมเลกุลของสาร



ตอบ 3

อธิบาย ธาตุซึ่งอยู่ภายในหมู่เดียวกันมีลักษณะสำคัญ  ดังนี้
      1. ธาตุที่อยู่ในหมู่เดียวกันมีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน  จึงทำให้มีสมบัติคล้ายกัน  เช่น ธาตุลิเทียม (3Li มีการจัดอิเล็กตรอนเป็น 2,1) และธาตุโซเดียม (11Na มีการจัดอิเล็กตรอนเป็น 2,8,1) ต่างก็มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1  ทั้งสองธาตุจึงมีคุณสมบัติคล้ายกัน  เป็นต้น
      2. ธาตุในหมู่ย่อย A (I A - VIII A) ยกเว้นธาตุแทรนซิชัน มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับเลขที่ของหมู่ เช่น ธาตุในหมู่ I จะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1 ธาตุในหมู่ II จะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2 เป็นต้น
      3. ธาตุแทรนซิชันส่วนใหญ่มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2 ยกเว้นบางธาตุ เช่น Cr Cu เป็นต้น มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1
      4. ธาตุในหมู่เดียวกันจะมีจำนวนระดับพลังงานไม่เท่ากัน โดยมีระดับพลังงานเพิ่มขึ้นจากบนลงล่าง เช่น 3Li 11Na 19K 37Rb 55Cs เป็นธาตุที่อยู่ในหมู่ที่ 1 จากบนลงล่าง  มีจำนวนระดับพลังงานเท่ากับ 2 3 4 5 และ 6 ตามลำดับ
      5. ธาตุในหมู่เดียวกันจากบนลงล่าง  (จากคาบที่ 1 ถึงคาบที่ 7) จำนวนอิเล็กตรอนหรือจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมจะเพิ่มขึ้นดังนี้ 2, 8, 8, 18, 18, 32 ตามลำดับ เช่น ธาตุ หมู่ 1 H(Z=1)  Li(Z=3)  Na(Z=11)  K(Z=19)  Rb(Z=37)  Cs(Z=55)  Fr(Z=87)




ตอบ 2

อธิบาย การจัดเรียงอิเล็กตรอน หมายถึงอิเล็กตรอนในแต่ละอะตอมจะมีการจัดเรียงตามระดับพลังงานหลักและระดับพลังงานย่อย โดยมีการแบ่งชั้นที่แน่นอน เรียงไปเรื่อยๆ ตามเลขอะตอม

ระดับพลังงานหลัก
เป็นระดับพลังงานชั้นใหญ่ๆ ของอิเล็กตรอน ระดับพลังงานชั้นในสุดหรือระดับพลังงานที่ n=1 จะมีอิเล็กตรอนได้มากที่สุด 2 ตัว ระดับชั้นถัดมา 2,3,4
จะมีได้มากที่สุด 8,18 และ 32 ตามลำดับ โดยระดับพลังงานที่มากกว่า 4 ขึ้นไปก็จะมีได้มากที่สุดเพียง 32 ตัวเท่านั้น

ระดับพลังงานย่อย

ระดับพลังงานย่อย อีกชื่อหนึ่งคือ ออร์บิทัล (Orbital) เป็นระดับพลังงานย่อยที่อยู่ในแต่ละระดับพลังงานใหญ่ โดยระดับพลังงานย่อยจะมี 4 ประเภทใหญ่ คือ s,p,d และ f และแต่ละชนิดก็จะมีรูปร่างต่างกันอีก

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99



ตอบ 1

อธิบาย สูตรเคมี เป็นวิธีรวบรัดที่ใช้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับอะตอมที่อยู่ในสารประกอบเคมีนั้นๆ สูตรเคมีจะแสดงเอกลักษณ์ของธาตุเคมีต่างๆ โดยใช้สัญลักษณ์ธาตุ และจำนวนอะตอมของธาตุนั้นๆที่มีอยู่ในหนึ่งโมเลกุลของสารประกอบ จำนวนอะตอมถ้ามีมากกว่าหนึ่งจะแสดงเป็นตัวห้อย (subscript) คือส่วนล่างของบรรทัด ที่อยู่ด้านหลังสัญลักษณ์ธาตุ สำหรับสารประกอบที่ไม่เป็นโมเลกุล ตัวห้อยจะแสดงเป็นอัตราส่วนของธาตุในสูตรเอมพิริคัล (empirical formula) สูตรเคมีที่ใช้สำหรับสารประกอบที่เป็นกลุ่มซีรีส์ซึ่งมีความแตกต่างกันที่ค่าคงที่ค่าหนึ่ง เราเรียกว่า สูตรทั่วไป และกลุ่มซีรี่เราเรียกว่า โฮโมโลกัส ซีรีส์ (homologous series) และสมาชิกในกลุ่มเราเรียกว่า โฮโมลอกส์ (homologs)




ตอบ 3

อธิบาย
ธาตุกัมมันตรังสี (อังกฤษ: radioactive element) คือธาตุพลังงานสูงกลุ่มหนึ่งที่สามารถแผ่รังสี แล้วกลายเป็นอะตอมของธาตุใหม่ได้ มีประวัติการค้นพบดังนี้
  1. รังสีเอกซ์ ถูกค้นพบโดย Conrad Röntgen อย่างบังเอิญเมื่อปี ค.ศ. 1895
  2. ยูเรเนียม ค้นพบโดย Becquerel เมื่อปี ค.ศ. 1896 โดยเมื่อเก็บยูเรเนียมไว้กับฟิล์มถ่ายรูป ในที่มิดชิด ฟิล์มจะมีลักษณะ เหมือนถูกแสง จึงสรุปได้ว่าน่าจะมีการแผ่รังสีออกมาจากธาตุยูเรเนียม เขาจึงตั้งชื่อว่า Becquerel Radiation
  3. พอโลเนียม ถูกค้นพบและตั้งชื่อโดย มารี กูรี ตามชื่อบ้านเกิด (โปแลนด์) เมื่อปี ค.ศ. 1898 หลังจากการสกัดเอายูเรเนียมออกจาก Pitchblende หมดแล้ว แต่ยังมีการแผ่รังสีอยู่ สรุปได้ว่ามีธาตุอื่นที่แผ่รังสีได้อีกแฝงอยู่ใน Pitchblende นอกจากนี้ กูรียังได้ตั้งชื่อเรียกธาตุที่แผ่รังสีได้ว่า ธาตุกัมมันตรังสี และเรียกรังสีนี้ว่า กัมมันตภาพรังสี
  4. เรเดียม ถูกตั้งชื่อไว้เมื่อปี ค.ศ. 1898 หลังจากสกัดเอาพอโลเนียมออกจากพิตช์เบลนด์หมดแล้ว พบว่ายังคงมีการแผ่รังสี จึงสรุปว่ามีธาตุอื่นที่แผ่รังสีได้อีกใน Pitchblende ในที่สุดกูรีก็สามารถสกัดเรเดียมออกมาได้จริง ๆ จำนวน 0.1 กรัม ในปี ค.ศ. 1902
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5



2 ความคิดเห็น:

  1. หลักเกณฑ์การให้คะแนน ข้อละ 10 คะแนนแยกรายละเอียด ดังนี้
    1. ทำครบตามที่กำหนด ข้อละ 2 คะแนน ถ้ามีแต่โจทย์ไม่วิเคราะห์ให้ข้อละ 1 คะแนน
    2. มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน
    3. บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน( URL)
    4. วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้คะแนนตั้งแต่ 1 - 5 คะแนนตามความเหมาะสม
    5. ลงคะแนนรวมที่ได้ลงในช่องแสดงความคิดเห็นใต้เพจกิจกรรมแต่ละสัปดาห์


    คะแนนเต็ม 100 คะแนน
    น้ำทิพย์ให้คะแนนธัญชนิต 100 คะแนนค่ะ
    เพราว่า ครบทุกอย่างเหมือนกิจกรรมที่แล้ว

    ตอบลบ
  2. หลักเกณฑ์การให้คะแนน ข้อละ 10 คะแนนแยกรายละเอียด ดังนี้

    1.ทำครบตามที่กำหนดข้อละ 2 คะแนน
    2.มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน
    3.บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน
    4.วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็น


    รวมคะแนนเต็ม 100 คะแนน
    ให้คะแนนตัวเอง 100 คะแนน

    ตอบลบ