กิจกรรม 8-12 พฤศจิกายน 2553


ส่งงาน
ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อสอบ 1-5 โดย Save โจทย์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ และนำไปลงในบทความบน Blog ของผู้เรียน




ตอบ 3
อธิบาย ดีเอ็นเอ (อังกฤษ: DNA) เป็นชื่อย่อของสารพันธุกรรม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic acid) ซึ่งเป็นกรดนิวคลีอิก (กรดที่พบในใจกลางของเซลล์ทุกชนิด) ที่พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้แก่ คน, สัตว์, พืช, เชื้อรา, แบคทีเรีย, ไวรัส เป็นต้น ดีเอ็นเอบรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นไว้ ซึ่งมีลักษณะที่ผสมผสานมาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อน ซึ่งก็คือ พ่อและแม่ และสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไป ซึ่งก็คือ ลูกหลาน
ไรโบโซม (ribosome) เป็นแหล่งสร้างโปรตีนของเซลล์ เป็นออร์แกเนลล์ขนาดเล็กพบในสิ่งมีชีวิตทั่วไปประกอบด้วยสารเคมี 2 ชนิด คือ กรดไรโบนิวคลีอิก (ribonucleic : RNA) กับโปรตีนอยู่รวมกัน เรียกว่า ไรโบนิวคลีโอโปรตีน (ribonucleoprotin)
เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane , plasma membrane , plasmalemma ) เป็นเยื่อบาง ๆ ล้อมรอบไซโทพลาซึม พบในเซลล์ทุกชนิด มีความหนาประมาณ 8.5 - 10 นาโนเมตร กั้นสารที่อยู่ภายในกับภายนอกเซลล์

ไมโทคอนเดรีย ภายในไมโทคอนเดรียสามารถพบ DNA ได้เช่นเดียวกับในนิวเคลียสและคลอโรพลาสต์ โดยเรียกว่า mtDNAมี การสันนิษฐานว่าไมโทคอนเดรียนั้นมีวิวัฒนาการร่วมกันกับเซลล์ยูคาริโอต มานานแล้ว โดยเริ่มแรกนั้นเซลล์สิ่งมีชีวิตชั้นสูงอาจไปกินเซลล์ที่มีขนาดเล็กกว่าเข้า ไปในเซลล์มนุษย์ DNAภายในไมโทคอนเดรียมีลักษณะเป็นวงกลม โดยมียีนที่สร้างโปรตีนได้เพียงไม่กี่สิบยีนเท่านั้น


ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AD



http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2



ตอบ 4

อธิบาย การแพร่ เป็นการกระจายตัวของโมเลกุลของสสารจากจุดที่มีความเข้มข้นสูงกว่า ไปยังจุดที่มีความเข้มข้นต่ำกว่าด้วยการเคลื่อนที่เชิงสุ่มของโมเลกุล การแพร่จะทำให้ เกิดการผสมของวัสดุอย่างช้าๆ สำหรับเฟสหนึ่งๆของวัสดุใดๆก็ตามที่มีอุณหภูมิสม่ำเสมอ และไม่มีแรงภายนอกมากระทำกับอนุภาค กระบวน การแพร่ก็จะยังคงเกิดถึงแม้ว่า จะสารจะผสมกันโดยสมบูรณ์หรือเข้าสู่ภาวะสมดุลแล้ว โดยพื้นฐานแล้ว การเคลื่อนที่ของโมเลกุล จากพื้นที่ที่มีความเข้มข้นสูงไปสู่ความเข้มข้นที่ต่ำกว่าเรียกว่าการแพร่ ทั้งสิ้น

การออสโมซิส
(osmosis) เป็น การแพร่ของของเหลวผ่านเยื่อบาง ๆ ปกติจะหมายถึงการแพร่ของน้ำผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เนื่องจากเยื่อหุ้มเซลล์ยอม ให้สารบางชนิดเท่านั้นที่ผ่านได้การแพร่ของน้ำ จะแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์จากด้านที่มีความเข้มข้นของสารละลายต่ำ ( น้ำมาก ) ไปยังด้านที่มีความเข้มข้นของสารละลายสูงกว่า (น้ำน้อย )

เอนโดไซโทซิส (endocytosis) เป็นการลำเลียงสารตรงกันข้ามกับเอกโซไซโทซิส กล่าวคือ เป็นการลำเลียงสารขนาดใหญ่เข้าสู่เซลล์
การลำเลียงแบบใช้พลังงาน อาศัยโปรตีนที่แทรกอยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ ทำหน้าที่เป็นตัวลำเลียงเช่นเดียวกับการแพร่แบบฟาซิลิเทต แต่แตกต่างกันตรงที่เซลล์ต้องใช้พลังงานเป็นตัวพา เรียกว่า ATP เพื่อเป็นแรงผลักในการลำเลียง ซึ่งทิศทางตรงข้ามกับการแพร่

ที่มา





 

ตอบ 2

อธิบาย การที่ดื่มแอลกอฮอล์แล้วปัสสาวะออกมามากก็เพราะ แอลกอฮอล์ไปยับยั้งการทำงานของฮอร์โมน vasopressin หรือ Antidiuretic hormone (ADH) เพราะ ADH มีหน้าที่ควบคุมการดูดกลับของน้ำ ถ้าปกติแล้วเราจะขับปัสสาวะในปริมาณที่เป้นปกติในแต่ละวัน แต่ถ้าเมื่อใดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เข้าไปมาก ๆ มันก็จะไปยับยั้งการทำงานของ ADH ทำให้มันสับสนและเกิดความแปรปรวน แทนที่จะดูดน้ำกลับ แต่ก็ไม่สามารถควบคุมในส่วนหน้าที่นี้ได้จึงทำให้ควบคุมการปัสสาวะไม่ได้ จึงปล่อยน้ำออกมาบ่อยหรือในปริมาณมากนั่นเอง

ที่มา http://www.vcharkarn.com/vcafe/35620




ตอบ 3

อธิบาย สารละลายบัฟเฟอร์ หมายถึง สารละลายที่ได้จากการผสมของกรดอ่อนกับคู่เบสของกรดนั้น หรือเบสอ่อนกับคู่กรดของเบสนั้น จะได้สารละลายที่มีไอออนร่วม หน้าที่สำคัญของสารละลายบัฟเฟอร์ คือ เป็นสารละลายที่ ใช้ควบคุม ความเป็นกรดและเบสของสารละลาย เพื่อไม่ให้เปลี่ยนแปลงมาก เมื่อเติมกรดหรือเบสลงไปเล็กน้อย นั่นคือสามารถ รักษาระดับ pH ของสารละลายไว้ได้เกือบคงที่เสมอ แม้ว่าจะเติมน้ำหรือเติมกรดหรือเบสลงไปเล็กน้อย ก็ไม่ทำให้ pH ของสารละลายเปลี่ยนแปลงไปมากนัก เราเรียกความสามารถในการต้านทานการเปลี่ยนแปลง pH นี้ว่า buffer capacity

ที่มา http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem22/buffer.htm


ตอบ 1อธิบาย การควบคุมโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส กระทำ โดยป้องกันไม่ให้พืชเป็นโรค อาจทำโดยใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นเพื่อลดจำนวนแมลงพาหะเมื่อทำการปลูกพืช อาจใช้ความร้อนช่วยในการกำจัดเชื้อไวรัสออกไปจากตอพันธ์ หรือตัดเอา apical meristem จากยอดอ่อนพืชที่มีการเจริญเติบโต อย่างรวดเร็วไปทำการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ( tissue culture ) ซึ่งจะทำให้ได้ต้นพืชที่ปลอดเชื้อไวรัส
ที่มา http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=2404




ตอบ 4

อธิบาย แอนติบอดี (อังกฤษ: antibody) หรือ อิมมิวโนโกลบูลิน (อังกฤษ: immunoglobulin) เป็นโปรตีนขนาดใหญ่ในระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ สร้างขึ้น ที่มีหน้าที่ตรวจจับและทำลายฤทธิ์สิ่งแปลกปลอมต่อร่างกาย เช่น แบคทีเรีย และไวรัส แอนตีบอดีแต่ละชนิดจะจดจำโมเลกุลเป้าหมายที่จำเพาะของมันคือ แอนติเจน (antigen)
การ เพิ่มปริมาณแอนตีบอดีที่สนใจสามารถทำได้โดยฉีดโปรตีนหรือเส้นเปปไทด์ ซึ่งเราเรียกว่า "แอนติเจน" เข้าไปในสิ่งมีชีวิต เช่น หนู กระต่าย แพะ หรือ แกะ เป็นต้น แอนติเจนเป็นสิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้และตำแหน่งบนแอนติเจน ที่จำเพาะในการกระตุ้นเรียกว่า เอปิโทป (epitope) ต่อมาระบบภูมิคุ้มกันแบบสารน้ำ (humoral immune system) ของสัตว์เหล่านี้ก็จะสร้างแอนตีบอดีตอบสนองอย่างจำเพาะต่อแอนติเจนที่ฉีด เข้าไป
โครงสร้างโมเลกุลของแอนติบอดีอยู่ในรูปตัววาย (Y shape) ประกอบด้วยสายพอลีเปปไทด์ 4 เส้น คือ เส้นหนัก (heavy chain) 2 เส้น และเส้นเบา (light chain) 2 เส้น โดยเปรียบเทียบจากขนาดน้ำหนักโมเลกุลส่วน ที่โคนของตัววายของโมเลกุลแอนติบอดี เรียกว่า constant region จ ะบ่งบอกถึงชนิดของแอนติบอดีว่าเป็นคลาสไหน เช่น IgG, IgA, IgM, IgD, IgE เป็นต้น โดยที่ส่วนปลายของตัววายซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใช้จับกับแอนติเจนจะมีความหลาก หลายมากไม่เหมือนกันในแอนติบอดีจำเพาะต่อแอนติเจนแต่ละชนิด ซึ่งเรียกว่า variable region

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5





ตอบ 2

อธิบาย สาหร่ายหางกระรอกเป็นพืชน้ำจืด เมื่อเจอน้ำเกลือจะทำให้เซลล์เหี่ยวเพราะน้ำออสโมซิสออกไปจากเซลล์ ในข้อนี้หากนำไปแช่ในน้ำกลั่น น้ำเชื่อม น้ำนมสด และแอลกฮอล์ ที่ไม่ทราบความเข้มข้นนั้น เซลล์มีโอกาสจะเหี่ยวได้เหมือนกัน แต่จะเหี่ยวเร็วที่สุดในแอลกฮอล์ เพราะมีความแตกต่างในปริมาณน้ำมากที่สุด

ที่มา www.thaigifted.org/lessonplan/count_down.php?path=1423.doc...id...




 ตอบ 4

อธิบาย กวานีน G จะจับคู่กับไซโทซีน C เสมอด้วยพันธะไฮโดรเจน 3 พันธะ

ที่มา
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/48/2/team/page/bio27.html





ตอบ 3

อธิบาย ลูกชายมีหมู่เลือด O แสดง ว่าทั้งพ่อและแม่เป็นเฮเททอโรไซโกต โดยที่พ่อ B แม่ A จะมีโอกาส 1/4 ที่จะมีลูกเป็นหมู่ O และโดยปกติที่จะมีลูกชายและลูกสาวมีเท่ากัน คือ 1/2 ดังนั้นโอกาสที่จะเป็นลูกสาวและเป็นหมู่ O จึงเท่ากับ 1/4*1/2=1/8

ที่มา http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=620




ตอบ 4

อธิบาย โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย เป็นโรคเลือดจางที่มีสาเหตุมาจากมีความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้มีการสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดผิดปกติ จึงทำให้เม็ดเลือดแดงมี อายุสั้นกว่าปกติ แตกง่าย ถูกทำลายง่าย ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จึงมีเลือดจาง โรคนี้พบได้ทั้งหญิงและชายปริมาณเท่าๆ กัน ถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่ทางพันธุกรรมพบได้ทั่วโลก และพบมากในประเทศไทยด้วยเช่นกัน

ประเทศไทยพบ ผู้ป่วยโรคนี้ร้อยละ 1 และพบผู้ที่มีพาหะนำโรคถึงร้อยละ 30-40 คือประมาณ 20-25 ล้านคน เมื่อพาหะแต่งงานกันและพบยีนผิดปกติร่วมกัน ก็อาจมีลูกที่เกิดโรคนี้ได้ ซึ่งประมาณการณ์ว่าจะมีคนไทยเป็นมากถึง 500,000 คน โรคนี้ทำให้เกิดโลหิตจางโดยเป็นกรรมพันธุ์ของการสร้างเฮโมโกลบินออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ ซึ่งมีสีแดงและนำ
ธา ลัสซีเมียเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของการสังเคราะห์เฮโมโกลบิน ที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงในอัตราการสร้างสายโปรตีนโกลบิน การที่มีอัตราการสร้างสายโกลบินชนิดหนึ่งๆ หรือหลายชนิดลดลงจะรบกวนการสร้างเฮโมโกลบินและทำให้เกิดความไม่สมดุลในการ สร้างสายโกลบินปกติอื่น
เฮโมโกลบินปกติประกอบด้วยสายโกลบินสองชนิด (แอลฟาและไม่ใช่แอลฟา) ในอัตราส่วน 1:1 สายโกลบินปกติส่วนเกินจะตกค้างและสะสมอยู่ในเซลล์ในรูปของผลผลิตที่ไม่ เสถียร ทำให้เซลล์เสียหายได้ง่าย ความไม่สมดุลนี้เป็นลักษณะสำคัญของธาลัสซีเมียทุกชนิด ด้วยเหตุผลนี้ธาลัสซีเมียหลายชนิดจึงไม่ถูกถือว่าเป็นโรคทางความผิดปกติของ เฮโมโกลบินเนื่องจากลักษณะของสายโกลบินเหล่านี้ปกติแต่มีความผิดปกติอยู่ที่ การลดลงของอัตราการสร้างสายโกลบินปกติเหล่านี้ อย่างไรก็ดีโรคธาลัสซีเมียที่เป็นโรคเฮโมโกลบินผิดปกตินั้นก็มีอยู่เช่นกัน

ผู้ที่มีโอกาสเป็นพาหะ

  • ผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ก็มีโอกาสที่จะเป็นพาหะหรือมียีนแฝงสูง
  • ผู้ที่มีลูกเป็นโรคนี้ แสดงว่าทั้งคู่สามีภรรยาเป็นพาหะหรือมียีนแฝง
  • ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคธาลัสซีเมีย
  • ถ้าผู้ป่วยที่เป็นโรคธาลัสซีเมียและแต่งงานกับคนปกติที่ไม่มียีนแฝง ลูกทุกคนจะมียีนแฝง
  • จากการตรวจเลือดด้วยวิธีพิเศษดูความผิดปกติของเฮโมโกลบิน
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2

2 ความคิดเห็น:

  1. หลักเกณฑ์การให้คะแนน ข้อละ 10 คะแนนแยกรายละเอียด ดังนี้
    1. ทำครบตามที่กำหนด ข้อละ 2 คะแนน ถ้ามีแต่โจทย์ไม่วิเคราะห์ให้ข้อละ 1 คะแนน
    2. มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน
    3. บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน( URL)
    4. วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้คะแนนตั้งแต่ 1 - 5 คะแนนตามความเหมาะสม
    5. ลงคะแนนรวมที่ได้ลงในช่องแสดงความคิดเห็นใต้เพจกิจกรรมแต่ละสัปดาห์


    คะแนนเต็ม 120 คะแนน
    น้ำทิพย์ให้คะแนนธัญชนิต 115 คะแนน

    ตอบลบ
  2. หลักเกณฑ์การให้คะแนน ข้อละ 10 คะแนนแยกรายละเอียด ดังนี้
    1.ทำครบตามที่กำหนด ข้อละ 2 คะแนน ถ้ามีแต่โจทย์ไม่วิเคราะห์ให้ข้อละ 1 คะแนน
    2.มีเฉลยให้ข้อละ 1 คะแนน
    3.บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 2 คะแนน( URL)
    4.วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้คะแนนตั้งแต่ 1 - 5 คะแนนตามความเหมาะสม
    5.ลงคะแนนรวมที่ได้ลงในช่องแสดงความคิดเห็นใต้เพจกิจกรรมแต่ละสัปดาห์

    คะแนนเต็ม 130 คะแนน
    ให้ตัวเอง 120 คะแนน

    ตอบลบ